ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป (Km) ศูนย์การจัดการความรู้ในองค์กร คณะวิศวกรรมศาสตร์
 
 
 
   : ISO9001:2000 :  สำนักงานการจัดการความรู้     
     
     
     
 

                                                           ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป / History


    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครเป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ให้บริการการศึกษา
และผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ให้กับสังคมไทยเป็นระยะเวลายาวนาน นับย้อนจากการสถาปนาในนาม
“วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา”


    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นวันที่พระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ได้ถูกประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้ง
ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้าน
วิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม


    วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนา ระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ
และศักยภาพมีความพร้อมในหลายๆด้าน จนกระทั่งในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน ชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” ในวันที่ 15 กันยายน 2531


    สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชิ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการ
กระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ
และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสถานศึกษาดังนั้นสถาบันเทคโนโลยี
ราชมงคลจึงได้รับปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลโดยมีการรวมกลุ่มวิทยาเขตจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล   จำนวน 9 แห่ง


     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติ ทั้งในระดับปริญญาตรี โท
และเอกเพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อระดับวิชาชีพระดับปริญญา


     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ
เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548


     คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพก่อตั้ง
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2501 ในนามโรงเรียนช่างกลพระนครเหนือ และได้ยกฐานะเป็น
วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ สังกัดกรมอาชีวศึกษาต่อมาได้โอนสังกัดเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
ซึ่งภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่เป็น
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 จึงใช้นามว่าสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
วิทยาเขตพระนครเหนือ


     นับจากปีที่ก่อตั้งจนปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครเหนือ ได้พัฒนามาเป็นลำดับ
ในทุกด้าน ทั้งในด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือเครื่องจักร ที่ใช้ในการศึกษา และการศึกษา และการจัด
การศึกษานระดับที่สูงขึ้นในหลายสาขาวิชาแต่ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของผู้บริการและคณาจารย์ที่มุ่งมั่นใน
การอบรมสั่งสอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรู้ความสามารถควบคู่ไปกับการเป็นผู้มีคูณธรรม จึงทำให้นักศึกษา
ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาเขตพระนครเหนือ มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ


     ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นคณะหนึ่งที่จัดการศึกษา
ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรในหลักสูตรปริญญาตรี
วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สนองความต้องการในตลาดแรงงานและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
    - การจัดการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์
     การจัดการเรียนการสอนยึดแนวปรัชญาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ดังนี้ มีความเชื่อมั่นว่าการเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นกระบวนการการศึกษาที่จำเป็นในการเสริมสร้าง
มาตรฐานและคุณภาพของชีวิตเพื่อเป็นกำลังพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

   ในส่วนของการจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
ได้เริ่มดำเนินการมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสถาบันแต่ในส่วนที่ทำการของศูนย์การจัดการความรู้ของ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เริ่มมีสถานที่ทำงานและบุคลากรประจำศูนย์ก็เริ่มจากปีงบประมาณ 2550 เป็นต้นมา
โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้บริหารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ อย่างดีเยี่ยม ซึ่งปัจจุบันในศูนย์การจัดการความรู้
ก็มีการร่วมกันทำงานกับส่วนงานบริการวิชาการแก่สังคม และงานคลินิกเทคโนโลยีของคณะวิศวกรรมศาสตร์อีกด้วย
ซึ่งภารกิจของงานแต่ละงานก็สามารถใช้องค์ความรู้ร่วมกันได้

 
 
 
   
             
             
       
             
             
         
     
 
   
 
   
           ถอยกลับสู่หน้าหลัก