โครงการวิจัยจะนำเสนอระบบและวิธีการจัดการป้องกันน้ำเค็มที่จะเข้ามาทำอันตรายกับต้นทุเรียน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับผลผลิตอย่างมากทั้งด้านเกษตรกรรมและด้านเศรษฐกิจ โดยได้ออกแบบระบบเซนเซอร์วัดความเค็มติดตั้งไว้บริเวณทางน้ำไหลเข้าสวน และเมื่อเซนเซอร์วัดความเค็มตรวจสอบและพบว่า ความเค็มของน้ำที่ไหลเข้าสวนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจะทำการส่งสัญญาณให้เกษตรกรในเครือข่ายทราบ เพื่อที่จะดำเนินวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไป
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพื้นฐานการเลือกใช้และดูแลรักษาตลับลูกปืนสายพานคลับปลิง
ตลับลูกปืนเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานที่จำเป็นของเครื่องจักรกล มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ตลับลูกปืน ได้ถูกออกแบบมามากมายหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนั้นการเลือกใช้ตลับลูกปืนให้ถูกต้องเหมาะสมจึงมีความจำเป็น รวมถึงการถอดประกอบและดูแลรักษาตลับลูกปืนให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว จากสภาพความเป็นจริงผู้ใช้งานและดูแลรักษาเครื่องจักร ส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตลับลูกปืนน้อยมาก ก่อให้เกิดปัญหากับตัวเครื่องจักร อันมีผลกระทบต่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สาขาวิศวกรรมการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมสัมมนานี้ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนความชำนาญให้กับบุคลากรภาคประกอบการ อันเป็นภาระของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ในการให้บริการวิชาการแก่สังคม เป็นการช่วยพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทยโดยรวม
โครงการการพัฒนาสวนทุเรียนด้านระบบการจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
โครงการนี้จะนำเสนอระบบและวิธีการจัดการน้ำที่ทำให้ชาวสวนสะดวกสบาย ประหยัดแรงงานและมีเวลาว่างมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา กล่าวคือ จะนำเทคโนโลยีการควบคุมด้วยระบบ PLC (Programmable Logic Control) มาประยุกต์ใช้ โดยการเขียนโปรแกรมควบคุมการจ่ายน้ำของหัวสปริงเกอร์ให้ทำงานเรียงกันอย่างเป็นมีรูปแบบ และสามารถตั้งเวลาการทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ โดยที่ชาวสวนไม่ต้องมาควบคุมการให้น้ำอีกต่อไป
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโปรแกรมวิเคราะห์งานฉีดพลาสติก (CAE)
ปัจจุบันระบบอุตสาหกรรมงานฉีดพลาสติกมีการขยายตัวอย่างมากจึงมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการออกแบบชิ้นงาน และวิเคราะห์การไหลของพลาสติก เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลดปัญหาที่จะเกิดกับชิ้นงานและแม่พิมพ์ ลดเวลาและจำนวนครั้งในการลองแม่พิมพ์ ช่วยเพิ่มคุณภาพของสินค้า ทั้งนี้ในระบบอุตสาหกรรมต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้าน การใช้โปรแกรมออกแบบชิ้นงาน และวิเคราะห์งานฉีดพลาสติก
มอบเครื่องช่วยเหลือผู้ทำกายภาพบำบัดด้านการเดิน
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ผศ.สมเกียรติ ทองแก้ว และ ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธุนะ พร้อมทีมงานจากโครงการการให้ความช่วยเหลือผู้ทำกายภาพบำบัดด้านการเดิน โครงการบริการวิชาการแก่สังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ได้เดินทางไปมอบเครื่องช่วยเหลือผู้ทำกายภาพบำบัดด้านการเดิน ให้แก่หน่วยงานกายอุปกรณ์ ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยมีนายธวัชชัย จันทร์สอาด หัวหน้างานกายอุปกรณ์และเจ้าหน้าที่งานกายอุปกรณ์เป็นผู้รับมอบซึ่งอุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบนี้นับว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ต้องทำกายภาพบำบัดด้านการเดินเป็นอย่างมาก สามารถตรวจวัดแรงกดทับจากการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินได้ดี
ซึ่งทำให้นักกายภาพบำบัดสามารถวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้ทันท่วงที ผู้ป่วยจึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ในขณะที่ใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
กิจกรรมถ่ายทอดความรู้ภาษาอังกฤษเตรียมตัวพิชิต TOEIC
บรรยากาศโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ Arduino
ผลงานการเขียนซอฟเเวร์และหุ่นยนต์ฝีมือผู้เข้าอบรมค่ะ หุ่นยนต์สามารถเดินตามเส้นได้เเล้ว
สำรวจชุมชนทำดอกไม้กระดาษจากต้นโสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันที่ 9 ตุลาคม 2557 ผศ.สมเกียรติ ทองแก้ว ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ และ อ.รัชดาศักดิ์ สุเพ็งคำ เข้าสำรวจชุมชนตำบลบ้านกรด ตำบลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำรวจความต้องการชุมชนทำดอกไม้กระดาษจากต้นโสน เพื่อจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคม โดยการนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เเลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับตัวแทนชุมชนบ้านกรด
ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ ต้อนรับคณะกรรมการ WORLD BANK
หัวหน้าศูนย์การจัดการความรู้(KM) ได้รับเกียรติต้อนรับคณะกรรมการจาก World Bank
วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ดร.ชลกาญจน์ วงศ์ก่อทรัพย์ หัวหน้างานศูนย์การจัดการความรู้(KM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.พระนคร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ลงพื้นที่ชุมชนบ้านตลาดแก้ว อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ ด้านความรู้ และพัฒนาศักยภาพชุมชน พร้อมให้การต้อนรับเจ้าหน้าที่จาก World Bank ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในครั้งนี้ ณ ห้องเอนกประสงค์ มัสยิดรี่ยาดิ๊สสุนัน อ.เมือง จ.นนทบุรี
โครงการการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ เครื่องอบแห้งสับปะรด
สับปะรดเป็นพืชที่มีระยะเวลาการจัดเก็บสั้นก่อนเสียหาย การสร้างผลตอบแทนจากพืชเศรษฐกิจชนิดนี้สามารถทำได้หลายทาง เช่น การจำหน่ายให้กับโรงงานผลไม้กระป๋อง จำหน่ายให้กับร้านค้าผลไม้ทั่วไป ซึ่งต้องกระทำในระยะเวลาที่รวดเร็วเพราะเกิดการเน่าเสียหายได้ง่าย ทางกลุ่มสหกรณ์จึงมีความต้องการแปรรูปสับปะรดด้วยการอบแห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าของพืชเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง และอีกทั้งเนื่องด้วยในปี ๒๕๕๔ ทาง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ดำเนินโครงการ การผลิตกระดาษสาโดยใช้เครื่องบีบแยกน้ำออกจากเยื่อสับปะรด
แบบอัตโนมัติให้กับกลุ่มสหกรณ์ดังกล่าวได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี และยังเป็นการพัฒนาและสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพของกลุ่มสหกรณ์การเกษตรเมืองเชียงราย และกลุ่มสหกรณ์บ้านป่าซางวิวัฒน์ จังหวัดเชียงราย